ผมไกด์โก้ครับ ไกด์ภาษาญี่ปุ่น ต้องการจัดทำเว็บบล้อกนี้ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาญี่ปุ่นจากประสบการณ์ของตนเองครับ
วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557
เทคนิคการพูดภาษาญี่ปุ่นให้เก่ง
ทำอย่างไรดีนะ เราถึงจะพูดภาษาญี่ปุ่นได้เก่ง จะฟังรู้เรื่อง พูดเป็นเรื่องเป็นราวได้ ไม่ไช่งูๆปลาๆ คำถามนี้หลายคนคงเคยคิดกันเมื่อเริ่มต้นเรียนภาษาญี่ปุ่นกัน สำหรับผมแล้ว สาขาวิชาที่เรียนมานั้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และเรียนภาษาญี่ปุ่นเสริมไปด้วย ก็พอจะมีพื้นฐานนิดๆหน่อยแต่อาศัยความขยันและหมั่นท่องศัพท์เยอะๆครับ เราจะพูดเรื่องใด เราก็จะต้องมีศัพท์เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆไว้ด้วย จึงสามารถพูดได้ครับ
ผมยังจำตอนสมัยเป็นไกด์ใหม่ๆได้ครับ พูดก็ไม่คล่อง แนะนำตัวเองก็ตะกุตะกะ จับต้นชนปลายไม่ถูก พูดวกไป วนมา รูปประโยคนั้นเพี้ยนสุดๆ สงสารแขกช่วงที่ผมเป็นไกด์ใหม่ๆจริงๆครับ คงงงกับภาษาญี่ปุ่นของผมเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็พอที่จะสื่อสารรู้เรื่องบ้างนิดๆหน่อยๆครับ เพราะช่วงแรกเราเป็นไกด์ใหม่ ความรับผิดชอบในจำนวนแขกและโปรแกรมก็ไม่ค่อยวุ่นวายหรือยากเท่าไหร่ครับ
เมื่อเวลาผ่านไปบวกกับประสบการณ์ที่มากขึ้นค่อยๆสะสมความรู้ทีละนิดหน่อยในภาษาของตนเอง ย่างเข้าปีที่ 7 ผมถึงมีความรู้สึกว่าภาษาญี่ปุ่นของตนเองนั้น มีการพัฒนามากขึ้น สามารถพูดเป็นเรื่องราวได้ติดต่อกัน สามารถพูดรูปประโยคได้ตามหลักไวยากรณ์ และจำคำศัพท์ได้เยอะขึ้น ซึ่งผมจะขอแชร์เทคนิคของผมที่ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ให้ทุกคนได้ลองเอาไปใช้ดูครับ
1. ท่องศัพท์เยอะๆครับ เน้นเลยครับเรื่องนี้เอาวันละ 10 คำครับ ต้องทำให้ได้ โดยเริ่มจากเรื่องไกล้ตัวและเรื่องที่เราจะต้องได้ใช้บ่อยๆ เป็ไปได้วันละ 10 คำ ทำทุกวันครับ
2. ก่อนที่เราจะพูดภาษาญี่ปุ่นได้เราต้องคิดเป็นประโยคภาษาไทยให้ได้ก่อน ว่าเราจะพูดถึงเรื่องอะไร ฝึกคิด ฝึกที่จะเรียบเรียงประโยค เช่น จะพูดถึงเรื่องวัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ เราลองคิดเป็นภาษาไทยก่อนครับ ว่าเราจะพูดยังไง เอาจนตัวเราเข้าใจก่อน จากนั้น ค่อยๆหาศัพท์เกี่ยวกับเรื่องที่เราจะพูด เอาศัพท์นั้นมาต่อเป็นประโยค(ที่เราคิดเอง) แล้วหัดพูดปรโยคนั้นๆ เรื่องนั้นๆเป็นภาษาญี่ปุ่นครับ ฝึกคิดเอง สร้างเองครับ แล้วเราจะจำได้เร็ว แนะนำว่าอย่าไปจำมาจากตำรานุ่นนี่นั่น นะครับ เพราะจะทำให้เราเป็นคนคิดเองไม่ได้ และเวลาลืมเราก็จะไปต่อไม่ได้ ประโยคนี้เขาเขียนว่าไงนะ แล้วเราจะไม่พัฒนาครับ ผมเห็นไกด์รุ่นน้องเรียนแบบนี้กันเยอะ เลยทำให้ภาษาของตัวเองไม่ค่อยพัฒนา เพราะเน้นท่องจำ แต่ไม่เน้นที่จะคิดเอง ทำเอง ผมใช้วิธีครับ จึงทำให้ภาษาญี่ปุ่นของผมไปได้เร็ว และไปอย่างมั่นใจด้วย
3.พยายามจำศัพท์จากแขกให้ได้เยอะๆ เช่นเราพูดถึงเรื่องนี้ และลูกค้ามีการสนทนากับเรา และเขาก็จะพูดคำศัพท์เกี่ยวกับเรื่องที่เราพูด ซึ่งบางครั้งศัพท์ที่เราใช้นั้นคนญี่ปุ่นอาจจะไม่พูดกัน ซึ่งเทคนิคเราก็คือจับเอาประโยคหรือศัพท์ที่ลูกค้าพูดนั่นแหละครับ นำมาใช้พูดในครั้งต่อไป ทำแบบนี้บ่อยๆจะทำให้เราได้ศํพท์และเรียนรู้ศัพท์ได้เร็วขึ้นครับ นี่คือเทคนิคอีกอันที่ผมนำมาใช้ทุกครั้งในการทำทัวร์ครับ
4.พยายามสงสัยเข้าไว้ว่า ถ้าเราเป็นลูกค้าเมื่อมาเที่ยวแล้วเขาต้องการจะถามเรื่องอะไร อยากรู้อะไร ให้เราลองตั้งคำถามกับตนเองและลองหาคำตอบและหาคำศัพท์เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆครับ ซึ่งจะทำให้เรากระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และทำให้เราสามารตอบคำถามลูกค้าได้ครับ ถ้าเราตอบไม่ได้หรือไม่เข้าใจในประโยคนั้นๆ ก็ขอให้ลูกค้าพูดให้ฟังอีกครั้งครับ
5.ดูหนังหรือการ์ตูนญี่ปุ่นเยอะๆครับ เราจะได้รู้ถึงคำศัพท์และวิธีการแต่งประโยค การพูดในชีวิตประจำวันว่าคนญี่ปุ่นเขาใช้คำแบบไหน ซึ่งเราจะได้นำมาประยุกต์ใช้กับตัวเราครับ
ยังมีเทคนิคอีกมากมายครับ ซึ่งแต่ละคนก็ใช้ไม่เหมือนกัน ไม่มีใครผิดใครถูกครับ สิ่งที่ผมนำมาแชร์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งครับ ที่ผมลองนำมาใช้กับตนเองและได้ผลจึงอยากนำมาเล่าสู่กันฟังครับ ^_^
คุณสมบัติของไกด์ที่ดี
ไกด์หรือมัคคุเทศก์ในคำนิยามของหลายๆคนนั้นอาจหมายถึง คนนำทางในการเดินทาง คนนำทางที่จะพาเราไปยังแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ซึ่ง ไกด์นั้นยังต้องทำหน้าที่ในการอธิบายและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆที่จะพานักท่องเที่ยวของตนเองไปเยี่ยมชม ซึ่ง คำว่าไกด์ ในความหมายของผมนั้น ซึ่งผมจะขอนำประสบการณ์ที่ผ่านมา มาเป็นตัวช่วยในการขยายความหมายของคำๆนี้ด้วยครับ คำว่า ไกด์นำเที่ยวของผมนั้นคือ ผู้ที่นำพานักท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นต่างชาติหรือคนไทยด้วยกันเอง พาไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งไกด์ต้องรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวนั้นเป็นอย่างดี สามารถอธิบายเกี่ยวกับสถานที่ที่จะพาไปได้เป็นอย่างดี เพื่อให้นักท่องเที่ยวนั้นได้เข้าใจถึงที่มาที่ไปของแหล่งท้องเที่ยวๆนั้นๆว่า
" ทำไมต้องมาที่นี่ ที่นี่มีดีอะไรถึงต้องมา มาแล้วต้องทำอะไร ถ่ายรูปจุดไหน มุมไหนถึงจะสวย" ถ้าเราตอบโจทย์เหล่านี้ก็เพียงพอแล้วครับ การเป็นไกด์ที่ดีนั้น ไม่จำเป็นต้องเก่งประวัติศสาตร์อะไรมากมาย เพราะเราไม่ไช่ครูสอนประวัติศาสตร์และนักท่องเที่ยวก็ไม่ไช่นักเรียนที่จะต้องเสียเงินซื้อทัวร์มาเพื่อที่จะต้องมานั่งฟังเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่พูดซะยาวเหยียด จนไม่มีเวลาถ่ายรูป แบบนี้ก็ไม่ไช่
การเป็นไกด์ที่ดีนั้น เราต้องนำเรื่องราวนั้นๆมาอธิบายให้แขกเข้าใจอย่างย่อๆ พอรู้ที่มาที่ไปของสถานที่นั้นๆก็พอแล้วครับ เช่น ความหมายของวัดนี้ , สร้างเมื่อไหร่ปัจจุบันอายุเท่าไหร่,ใครเป็นคนสร้าง กษัตริย์ หรือ ชาวบ้าน,เหตุในการสร้าง , สถานที่ที่น่าสนใจของวัดนี้ เป็นต้นครับ จากนั้นก็ให้เวลาลูกค้าถ่ายรูปและซึบซับบรรยากาศด้วยตัวเองครับ เอาใจเขามาใส่ใจเราครับ เหมือนเราถ้าเราไปเที่ยวที่ไหนสักที่สิ่งที่อยากได้มากที่สุดจากสถานที่นั้นๆคือ รูปถ่ายครับ เรื่องราวหรือประวัติศาสตร์นั้นหาอ่านเองได้ครับ เพราะประวัติของแต่ละที่นั้นไกด์ไม่ได้เป็นคนเขียนขึ้นมาครับ เป็นเพียงคนนำมาเสนอ นำมาเล่าต่อแค่นั้นเอง ...
แต่สิ่งที่ผมอยากจะบอกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของการเป็นไกด์ที่ดีนั้นคือ การบริการ เพราะงานไกด์หรือมัคคุเทศก์นั้น คืองานบริการครับ บริการแบบไหนถึงจะพอใจลูกค้า ก็คิดง่ายๆครับว่าถ้าเราเป็นลูกทัวร์เราต้องการอะไรจากไกด์ทัวร์? แค่นั้นครับเราก็จะนึกออกเลยว่าเราควรบริการแบบไหน แบบนี้ลูกค้าจะรำคาญไหม เอาตัวเอาเป็นพื้นฐานครับ โดยมองเป็นกลางๆครับ เช่น บริการในการช่วยถือกระเป๋า แสดงกิริยาแบบสุภาพขณะพูดคุยกับลูกค้า แต่กายสุภาพเรียบร้อยตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน ใช้ภาษาสุภาพในการพูดคุยกับลูกค้า เหล่านี้เป็นต้นครับ แต่สิ่งที่กล่าวมานั้นจะประสบความสำเร็จได้ถ้าเราแสดงมันออกมาจากใจนะครับ เราต้องฝึกให้บริการคนอื่นเหมือนบริการตัวเอง ซึ่งจะทำให้งานของเรานั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี บางครั้งระหว่างทัวร์อาจจะมีสิ่งที่ทำให้ลูกค้าไม่พอใจบ้าง แต่ว่าการบริการของไกด์นั้นดี สุภาพ เรียบร้อย มีน้ำใจแล้วล่ะก็ ลูกค้าก็อาจจะหายโกรธหรือหายเครียดจากปัญหานั้นๆได้ครับ และก็จะหลีกเลี่ยงการ complain ภายหลังได้ครับ
ขอสรุปคุณสมบัติของไกด์ที่ดีเป็นข้อๆดังนี้ครับ
1.ต้องสุภาพเรียบร้อย ทั้งภาษาที่ใช้และกิริยาท่าทางที่แสดงต่อลูกค้า
2.สามารถเล่าเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆให้น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อจนลูกค้าไม่อยากไป
3.อย่าคิดว่าลูกค้าคือนักเรียนที่จะต้องมานั่งฟังเราเล่าเรื่องต่างๆนาๆอย่างยาวยืด
4.ต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยและสะอาดเสมอเมื่อปฏิบัติงาน
5.ต้องซื่อสัตย์ต่อลูกทัวร์ของตนเอง
6.มีทักษะการใช้ภาษาอย่างดี
7.หน้าตายิ้มแย้มตลอดเวลา
8.ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุราระหว่างปฏิบัติงาน
" ทำไมต้องมาที่นี่ ที่นี่มีดีอะไรถึงต้องมา มาแล้วต้องทำอะไร ถ่ายรูปจุดไหน มุมไหนถึงจะสวย" ถ้าเราตอบโจทย์เหล่านี้ก็เพียงพอแล้วครับ การเป็นไกด์ที่ดีนั้น ไม่จำเป็นต้องเก่งประวัติศสาตร์อะไรมากมาย เพราะเราไม่ไช่ครูสอนประวัติศาสตร์และนักท่องเที่ยวก็ไม่ไช่นักเรียนที่จะต้องเสียเงินซื้อทัวร์มาเพื่อที่จะต้องมานั่งฟังเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่พูดซะยาวเหยียด จนไม่มีเวลาถ่ายรูป แบบนี้ก็ไม่ไช่
การเป็นไกด์ที่ดีนั้น เราต้องนำเรื่องราวนั้นๆมาอธิบายให้แขกเข้าใจอย่างย่อๆ พอรู้ที่มาที่ไปของสถานที่นั้นๆก็พอแล้วครับ เช่น ความหมายของวัดนี้ , สร้างเมื่อไหร่ปัจจุบันอายุเท่าไหร่,ใครเป็นคนสร้าง กษัตริย์ หรือ ชาวบ้าน,เหตุในการสร้าง , สถานที่ที่น่าสนใจของวัดนี้ เป็นต้นครับ จากนั้นก็ให้เวลาลูกค้าถ่ายรูปและซึบซับบรรยากาศด้วยตัวเองครับ เอาใจเขามาใส่ใจเราครับ เหมือนเราถ้าเราไปเที่ยวที่ไหนสักที่สิ่งที่อยากได้มากที่สุดจากสถานที่นั้นๆคือ รูปถ่ายครับ เรื่องราวหรือประวัติศาสตร์นั้นหาอ่านเองได้ครับ เพราะประวัติของแต่ละที่นั้นไกด์ไม่ได้เป็นคนเขียนขึ้นมาครับ เป็นเพียงคนนำมาเสนอ นำมาเล่าต่อแค่นั้นเอง ...
แต่สิ่งที่ผมอยากจะบอกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของการเป็นไกด์ที่ดีนั้นคือ การบริการ เพราะงานไกด์หรือมัคคุเทศก์นั้น คืองานบริการครับ บริการแบบไหนถึงจะพอใจลูกค้า ก็คิดง่ายๆครับว่าถ้าเราเป็นลูกทัวร์เราต้องการอะไรจากไกด์ทัวร์? แค่นั้นครับเราก็จะนึกออกเลยว่าเราควรบริการแบบไหน แบบนี้ลูกค้าจะรำคาญไหม เอาตัวเอาเป็นพื้นฐานครับ โดยมองเป็นกลางๆครับ เช่น บริการในการช่วยถือกระเป๋า แสดงกิริยาแบบสุภาพขณะพูดคุยกับลูกค้า แต่กายสุภาพเรียบร้อยตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน ใช้ภาษาสุภาพในการพูดคุยกับลูกค้า เหล่านี้เป็นต้นครับ แต่สิ่งที่กล่าวมานั้นจะประสบความสำเร็จได้ถ้าเราแสดงมันออกมาจากใจนะครับ เราต้องฝึกให้บริการคนอื่นเหมือนบริการตัวเอง ซึ่งจะทำให้งานของเรานั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี บางครั้งระหว่างทัวร์อาจจะมีสิ่งที่ทำให้ลูกค้าไม่พอใจบ้าง แต่ว่าการบริการของไกด์นั้นดี สุภาพ เรียบร้อย มีน้ำใจแล้วล่ะก็ ลูกค้าก็อาจจะหายโกรธหรือหายเครียดจากปัญหานั้นๆได้ครับ และก็จะหลีกเลี่ยงการ complain ภายหลังได้ครับ
ขอสรุปคุณสมบัติของไกด์ที่ดีเป็นข้อๆดังนี้ครับ
1.ต้องสุภาพเรียบร้อย ทั้งภาษาที่ใช้และกิริยาท่าทางที่แสดงต่อลูกค้า
2.สามารถเล่าเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆให้น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อจนลูกค้าไม่อยากไป
3.อย่าคิดว่าลูกค้าคือนักเรียนที่จะต้องมานั่งฟังเราเล่าเรื่องต่างๆนาๆอย่างยาวยืด
4.ต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยและสะอาดเสมอเมื่อปฏิบัติงาน
5.ต้องซื่อสัตย์ต่อลูกทัวร์ของตนเอง
6.มีทักษะการใช้ภาษาอย่างดี
7.หน้าตายิ้มแย้มตลอดเวลา
8.ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุราระหว่างปฏิบัติงาน
เรียนภาษาญี่ปุ่นสุภาพแบบง่ายๆสไตล์ไกด์โก้
จากที่ผมได้เขียนไว้ในบล้อกก่อนหน้านี้แล้วนะครับ เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการใช้ภาษาญี่ปุ่นในงานไกด์และงานอื่นๆเช่นล่ามเป็นต้น วันนี้ ผมจะแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นแบบสุภาพที่ผมใช้เป็นประจำและใช้จนแขกชมเราว่าภาษาเรานั้นสละสลวยกว่าคนญี่ปุ่นซะอีก 5555 (เขินจนหน้าดำเลย)
อย่างที่ท่านทราบว่าทุกภาษานั้นจะมีคำที่ใช้สำหรับคนแต่ะละชนชั้น แตกต่างกันไป ภาษาไทยเราก็มีครับ เช่น กิน กับ รับประทาน เป็นต้น ภาษาญี่ปุ่นก็เช่นกัน แต่ผมแนะนำอย่างหนึ่งนะ กางรใช้ภาษาสุภาพนั้นเราควรใช้กับผู้สนทนาที่มีอายุมากกว่าเราจะดีกว่า และจะทำให้การสนทนานั้นไม่เคอะเขิน แต่ถ้าผู้สนทนานั้นอายุน้อยกว่าเรา เราก็ไม่ต้องไปใช้ภาษาสุภาพที่สละสลวยหรือสุภาพมากมายขนาดนั้นก็ได้ครับ ผู้สนทนากับเรานั้นจะรู้สึกอึดอัดครับ ผมลองมาแล้ว ทำทัวร์กับลูกค้าอายุประมาณ 20 ต้นๆ ใช้ภาษาสุภาพล้วนๆเต็มสูตร อีกวันแขกเดินมากระซิบว่า " เอ่อ คุณไกด์คะ ใช้ภาษาธรรมดา บ้านๆได้ไหมค่ะ ฉันฟังแล้วรู้สึกเขินๆและอึดอัด จนทำอะไรไม่ถูกเลยค่ะ " ผมนี่ต้กกะใจมากเลยครับ ก็เลยขอโทษแขกไปและพยายามปรับโหมดมาที่โหมดภาษาธรรมดาครับ แขกก็คุยกับเรามากขึ้น ถามเรามากขึ้น
ถึงว่าวันแรก แขกไม่พูดกับผมเลยครับ ฟังอย่างเดียว เหมือนอึดอัดอะไรบางอย่าง ไกด์ไม่หล่อ ก็ไม่น่าจะไช่ (เกี่ยวไหมเนี่ย) 555
จากนั้นมาผมเลยได้ความรู้มาว่า ต้องใช้ภาษาให้ถูกกับบุคคลและอายุของผู้ฟังด้วยจึงจะเหมาะสม ซึ่งผมก็สามารถปรับโหมดตนเองได้แล้วอิอิ ยิ่งใช้กับลูกค้าที่มีอายุมากกว่าเรา แขกผู้ใหญ่นั้น พวกเขาจะชอบมากเลย เช่น คำว่า กิน ผมจะใช้คำนี้เสมอครับ めしあがります(เมชิอะงาริมัส) ซึ่งหมายถึงรับประทาน ถ้าเราจะบอกลูกค้าว่า ขอเชิญรับประทานอาหารเลยครับ ผมจะใช้คำว่า どうぞお召し上がりください.(โดโซะโอเมชิอะการิขุดาไซ)ซึ่งจะฟังดูสุภาพกว่าคำว่า どうぞ食べてください.(โดโซตะเบะเตะขุดาไซ) ซึ่งคำเหล่านี้ผมเชื่อว่าหลายท่านคงได้เรียนและผ่านหูผ่านตามาแล้วจากหลายๆตำราแล้วล่ะครับ แต่อาจจะไม่เคยได้ใช้ หรือไม่รู้จะใช้ตอนไหนดี ซึ่งผมก็แนะนำว่าให้ใช้ตามอายุของผู้ที่สนทนากับเรา
และอีกอย่างที่ผมอยากแนะนำคือ รูปประโยคที่ลงท้าย ซึ่งปกติทั่วไปคือเราจะพูดลงท้ายด้วย です. หรือไม่มีเลย ซึ่งผมแนะนำว่าทุกครั้งที่พูดจบประโยคขอให้ลงท้ายด้วย です หรือรูป ます ครับ
จะทำให้ประโยคของเรานั้นสละลวย ฟังดูไพเราะ เพราะไกด์หลายๆคนผมเคยลองฟังภาษาดู จะลืมเรื่องพวกนี้กัน พูดง่ายเกิน ไป เช่น บอกว่า จากนี้จะพาไปที่ร้านอาหาร บางคนจะพูดว่า これから、レストラン行く。ซึ่งถามว่าผิดไหม ไม่ผิดครับ แต่ฟังดูแล้วมันเถื่อนๆยังไงไม่รู้ ส่วนสไตล์ผมจะพูดว่า はい、みんな様、ただいまより 私は レストランへ ご案内いたします。ซึ่งฟังแล้วจะดูนุ่มนวลและเป็นทางการมากกว่า ซึ่งคนฟังจะรู้สึกดีกับเราไปด้วยครับ อีกประโยค ถ้าเราจะบอกว่า ที่นี่คือวัด บางคนอาจพูดว่า ここはお寺です。ซึ่งฟังแล้วก็ดูสุภาพครับใช้ได้ แต้ถ้าเป็นสไตล์ผมที่อยากให้เป็นทางการ ยิ่งทำทัวร์กรุ้ปใหญ่ที่มีคนฟังหลากหลายแล้วล่ะก็ผมจะเลือกใช้ประโยคนี้ครับ こちらはお寺でございます。
ซึ่งคำลงท้ายที่สุภาพมากกว่า ですนั่นก็คือ でございますครับ ลองเอาไปใช้ดูครับ แรกๆอาจลืม ใช้บ่อยเข้าแล้วจะชินปากเองครับ เพราะนี่คือ 敬語เคโงะ แปลว่าคำสุภาพครับ ฝึกให้ชินติดปากครับ รับรองเราจะดูเป็นไกด์อีกระดับขึ้นมาทีเดียวเลยล่ะ อิอิ...
และอีกประโยคที่ผมอยากแนะนำครับ ประโยคที่ลงท้ายด้วย ...て いただきます。หรือ て もらいます。ซึ่งญี่ปุ่นจะชอบพูดกันเสมอครับว่า ได้รับความกรุณาอย่างนั้นอย่างนี้ หรือ ได้รับการทำสิ่งนั้นสิ่งนี้จากท่าน เช่น みんな様は夕食をとっていただいた後、ナイトマーケットへご案内いたします。
หมายความว่า ถ้าแปลตามประโยคคือเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารเย็นเสร็จแล้วจึงจะพาไปเที่ยวตลาดไนท์มาร์เก็ต ซึ่ง การที่ลูกค้ารับประทานอาหารนั้นคือเราได้รับการกระทำตรงนั้นจากลูกค้า ซึ่งนี่คือลักษณะภาษาญี่น ซึ่งเป็นภาษาที่มีความสุภาพมาก ถ้าเราอยากพูดให้เหมือนคนญี่ปุ่นแล้วล่ะก็ อย่าลืมใช้ประโยค นี้ด้วยนะครับ .
อย่างที่ท่านทราบว่าทุกภาษานั้นจะมีคำที่ใช้สำหรับคนแต่ะละชนชั้น แตกต่างกันไป ภาษาไทยเราก็มีครับ เช่น กิน กับ รับประทาน เป็นต้น ภาษาญี่ปุ่นก็เช่นกัน แต่ผมแนะนำอย่างหนึ่งนะ กางรใช้ภาษาสุภาพนั้นเราควรใช้กับผู้สนทนาที่มีอายุมากกว่าเราจะดีกว่า และจะทำให้การสนทนานั้นไม่เคอะเขิน แต่ถ้าผู้สนทนานั้นอายุน้อยกว่าเรา เราก็ไม่ต้องไปใช้ภาษาสุภาพที่สละสลวยหรือสุภาพมากมายขนาดนั้นก็ได้ครับ ผู้สนทนากับเรานั้นจะรู้สึกอึดอัดครับ ผมลองมาแล้ว ทำทัวร์กับลูกค้าอายุประมาณ 20 ต้นๆ ใช้ภาษาสุภาพล้วนๆเต็มสูตร อีกวันแขกเดินมากระซิบว่า " เอ่อ คุณไกด์คะ ใช้ภาษาธรรมดา บ้านๆได้ไหมค่ะ ฉันฟังแล้วรู้สึกเขินๆและอึดอัด จนทำอะไรไม่ถูกเลยค่ะ " ผมนี่ต้กกะใจมากเลยครับ ก็เลยขอโทษแขกไปและพยายามปรับโหมดมาที่โหมดภาษาธรรมดาครับ แขกก็คุยกับเรามากขึ้น ถามเรามากขึ้น
ถึงว่าวันแรก แขกไม่พูดกับผมเลยครับ ฟังอย่างเดียว เหมือนอึดอัดอะไรบางอย่าง ไกด์ไม่หล่อ ก็ไม่น่าจะไช่ (เกี่ยวไหมเนี่ย) 555
จากนั้นมาผมเลยได้ความรู้มาว่า ต้องใช้ภาษาให้ถูกกับบุคคลและอายุของผู้ฟังด้วยจึงจะเหมาะสม ซึ่งผมก็สามารถปรับโหมดตนเองได้แล้วอิอิ ยิ่งใช้กับลูกค้าที่มีอายุมากกว่าเรา แขกผู้ใหญ่นั้น พวกเขาจะชอบมากเลย เช่น คำว่า กิน ผมจะใช้คำนี้เสมอครับ めしあがります(เมชิอะงาริมัส) ซึ่งหมายถึงรับประทาน ถ้าเราจะบอกลูกค้าว่า ขอเชิญรับประทานอาหารเลยครับ ผมจะใช้คำว่า どうぞお召し上がりください.(โดโซะโอเมชิอะการิขุดาไซ)ซึ่งจะฟังดูสุภาพกว่าคำว่า どうぞ食べてください.(โดโซตะเบะเตะขุดาไซ) ซึ่งคำเหล่านี้ผมเชื่อว่าหลายท่านคงได้เรียนและผ่านหูผ่านตามาแล้วจากหลายๆตำราแล้วล่ะครับ แต่อาจจะไม่เคยได้ใช้ หรือไม่รู้จะใช้ตอนไหนดี ซึ่งผมก็แนะนำว่าให้ใช้ตามอายุของผู้ที่สนทนากับเรา
และอีกอย่างที่ผมอยากแนะนำคือ รูปประโยคที่ลงท้าย ซึ่งปกติทั่วไปคือเราจะพูดลงท้ายด้วย です. หรือไม่มีเลย ซึ่งผมแนะนำว่าทุกครั้งที่พูดจบประโยคขอให้ลงท้ายด้วย です หรือรูป ます ครับ
จะทำให้ประโยคของเรานั้นสละลวย ฟังดูไพเราะ เพราะไกด์หลายๆคนผมเคยลองฟังภาษาดู จะลืมเรื่องพวกนี้กัน พูดง่ายเกิน ไป เช่น บอกว่า จากนี้จะพาไปที่ร้านอาหาร บางคนจะพูดว่า これから、レストラン行く。ซึ่งถามว่าผิดไหม ไม่ผิดครับ แต่ฟังดูแล้วมันเถื่อนๆยังไงไม่รู้ ส่วนสไตล์ผมจะพูดว่า はい、みんな様、ただいまより 私は レストランへ ご案内いたします。ซึ่งฟังแล้วจะดูนุ่มนวลและเป็นทางการมากกว่า ซึ่งคนฟังจะรู้สึกดีกับเราไปด้วยครับ อีกประโยค ถ้าเราจะบอกว่า ที่นี่คือวัด บางคนอาจพูดว่า ここはお寺です。ซึ่งฟังแล้วก็ดูสุภาพครับใช้ได้ แต้ถ้าเป็นสไตล์ผมที่อยากให้เป็นทางการ ยิ่งทำทัวร์กรุ้ปใหญ่ที่มีคนฟังหลากหลายแล้วล่ะก็ผมจะเลือกใช้ประโยคนี้ครับ こちらはお寺でございます。
ซึ่งคำลงท้ายที่สุภาพมากกว่า ですนั่นก็คือ でございますครับ ลองเอาไปใช้ดูครับ แรกๆอาจลืม ใช้บ่อยเข้าแล้วจะชินปากเองครับ เพราะนี่คือ 敬語เคโงะ แปลว่าคำสุภาพครับ ฝึกให้ชินติดปากครับ รับรองเราจะดูเป็นไกด์อีกระดับขึ้นมาทีเดียวเลยล่ะ อิอิ...
และอีกประโยคที่ผมอยากแนะนำครับ ประโยคที่ลงท้ายด้วย ...て いただきます。หรือ て もらいます。ซึ่งญี่ปุ่นจะชอบพูดกันเสมอครับว่า ได้รับความกรุณาอย่างนั้นอย่างนี้ หรือ ได้รับการทำสิ่งนั้นสิ่งนี้จากท่าน เช่น みんな様は夕食をとっていただいた後、ナイトマーケットへご案内いたします。
หมายความว่า ถ้าแปลตามประโยคคือเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารเย็นเสร็จแล้วจึงจะพาไปเที่ยวตลาดไนท์มาร์เก็ต ซึ่ง การที่ลูกค้ารับประทานอาหารนั้นคือเราได้รับการกระทำตรงนั้นจากลูกค้า ซึ่งนี่คือลักษณะภาษาญี่น ซึ่งเป็นภาษาที่มีความสุภาพมาก ถ้าเราอยากพูดให้เหมือนคนญี่ปุ่นแล้วล่ะก็ อย่าลืมใช้ประโยค นี้ด้วยนะครับ .
ความแตกต่างระหว่างการใช้ภาษาญี่ปุ่นในงานไกด์กับงานอื่นๆ
ภาษาญี่ปุ่นในงานไกด์หรือเรียกเป็นทางการว่ามัคคุเทศก์นั้น จะเป็นภาษาญี่ปุ่นที่เน้นการสื่อสารด้านการพูดเป็นหลัก ใช้คำง่ายๆ ประโยคง่ายๆ คิดอะไรได้ก็ต้องพูดไปตอนนั้น ไม่ต้องเน้นพิธีรีตองอะไรมากมายนัก คือ พูดให้คนญี่ปุ่นนั้นเข้าใจง่ายๆ เช่น บอกว่าจากนี้เราจะไปไหน , ออกจากโรงแรมกี่โมง ซึ่งก็ใช้คำง่ายๆ ภาษาง่ายเท่านั้น
ซึ่งจะต่างกับงานอื่นๆเช่น ล่าม ที่จะต้องใช้ทักษะในการแปลอย่างยิ่งยวด ทั้งแปลจากการพูดสด แปลเอกสาร ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีความรู้เกี่ยวกับตัวอักษรญี่ปุ่นโดยเฉพาะตัวคันจิ ซึ่งหลายคนแม้กระทั่งคนญี่ปุ่นเองก็ยังจำไม่ได้ เพราะมันเอยะมาก และยากมากก ซึ่งงานล่ามนั้น ผมก็เคยมีโอกาสไปทำงานในด้านนี้ตั้ง 3 ที่ ซึ่งแต่ละที่นั้นก็ได้ประสบการณ์แตกต่างกันไป ซึ่งทำให้ผมค้นพบตัวเองว่า " ตัวเรามีความรู้ภาษาญี่ปุ่นก็จริง แต่ก็ไช่ว่าจะสามารถนำไปใช้ได้กับทุกที่ "
ซึ่งตัวผมนั้นถนัดในการใช้ภาษาญี่ปุ่นในด้านการพูดมากกว่าที่จะมานั่งแปลประโยค มาแปลบทสนทนาระหว่างเจ้านายกับพนักงานเป็นต้น ซึ่งจากการที่ไปทำงานล่ามมานั้น บอกได้เลยว่าตัวผมนั้นภาษาญี่ปุ่นของผมนั้นแย่มาก เพราะความสามารถและบุคลิกของเรานั้น ไม่เหมาะเลย พยายามปรับตัวเข้าก็แล้ว ปรับทัศนคติก็แล้ว ก็ยังไม่กระเตื้องเลย -_-! เลยลาออกแล้วกลับหวนคืนสู่สังเวียนไกด์อีกครั้ง ....
คราวนี้ทำให้ผมรู้เลยว่าคนเรา ไม่มีใครจะเก่งไปทุกด้าน ช่างบางคนอาจจะซ่อมเครื่องยนต์รุ่นนี้นี้เก่งมาก แต่พอเจออีกเครื่องอาจจะงง และไปไม่เป็นเลย เพราะคนเรานั้นมีขีดความสามารถไม่เหมือนกัน แต่ที่สำคัญเราต้องหาตัวเองให้เจอว่าเราเหมาะกับการใช้ภาษาแบบใด เช่นตัวผมนั้น จะถนัดในเรื่องการพูด การอธิบาย นั่นก็คืองานไกด์นี่เองครับ เพราะภาษาญี่ปุ่นของผมนั้นจะเน้นการสื่อสารทางการพูดอย่างเดียวครับ คิดอะไร พูดอย่างนั้น ใช้ภาษาง่ายๆ แต่! สำหรับผมนั้น จะเน้นใช้ภาษาสุภาพมากกว่าครับ เพราะอะไรนะเหรอ เพราะประสบการณ์สอนให้ผมรู้ว่าการพูดจาในประโยคสุภาพยิ่งงานไกด์แล้วนั้น จะทำให้ลูกทัวร์นั้น ให้ความเคารพและเกรงใจในตัวเรา เชื่อใจ และเชื่อฟังเราครับ ซึ่งจะทำให้งานทัวร์นั้นๆ ลุล่วงสำเร็จไปด้วยดี ซึ่งผมกล้ารับประกันได้เลยครับ ว่าถ้าเราสามารถพูดภาษาสุภาพได้แล้วล่ะก็จะทำให้ตัวเราดูดีมากๆในสายตาลูกทัวร์เลยล่ะครับ อิอิ ..
*** ติดตามบทความต่อไปนะครับ ผมจะมาแนะนำว่าภาษาสุภาพที่ผมใช้นั้นเป็นอย่างไร**
แนะนำตัวกันก่อนครับ ^_^
はじめまして、私はチェンマイのある旅行会社の日本語ツアーガイドのゴ-ともうします。
これからも、みんなさんによろしくお願いします。
ฮะจิเมะมาชิเตะ,วาตาชิวะ เชียงใหม่โนะ อะรุเรียวโคไคชะโนะ นิฮงโงะสึอาไกโดะโนะโก้โตะ โมชิมัสสึ.
โคเระคาระโม,มินนะซังนิ โยโรชิคุ โอเนะไงชิมัส.
สวัสดีครับทุกท่านผมชื่อโก้ครับ เป็นไกด์ภาษาญี่ปุ่นประจำบริษัททัวร์แห่งหนึ่งในเชียงใหม่ครับ แหะๆๆ เริ่มต้นก็ขอแนะนำตัวเองด้วยภาษาญี่ปุ่นในแบบรูปประโยคง่ายๆ ที่หลายคนคงเคยใช้แล้วนะครับ ในการแนะนำตัวสำหรับการเจอกันครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ซึ่งผมต้องใช้ประจำครับ วันเว้นวันกับประโยคนี้เลยล่ะ 555 เพราะผมต้องใช้ในการแนะนำตัวเองกับลูกทัวร์ของผมในการเริ่มทำทัวร์ในแต่ละชุดครับ เป็นไกด์ภาษาญี่ปุ่นนี่ก็จะเข้าปีที่ 10 แล้วครับ มีประสบการณ์มากมายหลายยยยยอย่างที่อยากบอก อยากเล่า อยากแบ่งปันในเรื่องเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น หรือแม้แต่เรื่องราวในการทำทัวร์ครับ ผมจึงจัดทำบล้อกนี้ขึ้นมาเพื่อเล่าเรื่องราวของตัวเองผ่านบล้อกนี้ เพื่อเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆให้กับคนที่สนใจเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น ซึ่งผมจะถ่ายทอดในมุมมองจากประสบการณ์โดยตรงที่ผมได้พบมาจากประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งประสบการณ์แบบนี้ผมเชื่อว่าคงไม่มีขายในตำราแน่นอน ผมจึงอยากจะนำประสบการณ์ภาษาญี่ปุ่นของตนเองนั้น มาเล่า มาแชร์ มาถ่ายทอดให้กับคนที่สนใจครับ
หรือหากว่าคนไหนอยากทำงานเป็นทัวร์ไกด์ญี่ปุ่น ผมก็ยินดีให้คำแนะนำได้ครับ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่ผมพาคณะทัวร์คนญี่ปุ่นไปเยี่ยมชม ผมก็จะนำมาถ่ายทอดประสบการณ์ใน
บล้อกนี้ครับ ลองติดตามดูนะครับ ผมจะพยายามหาแต่สิ่งที่ดีๆและเป็นประโยชน์กับทุกท่าน มาเขียนและมาแชร์กันครับ ............
** คำศัพท์**
はじめまして (ฮะจิเมะมาชิเตะ) = ยินดีที่ได้รู้จักกัน ครั้งแรก ใช้กล่าวแนะนำตัวเองครับ
ある旅行会社 (อะรุเรียวโคไคชะ) = บริษัทัวร์แห่งหนึ่ง
日本語ツアーガイド (นิฮงโงะสึอาไกโดะ) = ไกด์นำเที่ยวภาษาญี่ปุ่น
みんなさん(มินนะซัง) = ทุกท่าน
よろしくお願いします(โยโรชิคุ โอเนะไงชิมัส) = ขอฝากเนื้อฝากตัวกับทุกคนด้วยครับ/คะ
By.Mr.โก้ ไกด์ญี่ปุ่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)